Bangpakok Hospital

เช็กให้ชัวร์ ก่อนเสี่ยงมะเร็งเต้านม

17 ม.ค. 2567


เช็กให้ชัวร์! ก่อนเสี่ยงมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับหนึ่งในเพศหญิง จากสถิติสถาบันมะเร็งแห่งชาติปี 2563 พบได้ถึงเกือบ 40% และเกินครึ่งของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่เป็นมะเร็งในระยะที่มีการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่นแล้ว ซึ่งนับเป็นความน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในมะเร็งที่สามารถรักษาหายขาดได้หากพบแต่แรก โดยหากพบในระยะที่ยังไม่แพร่กระจาย มีโอกาสอยู่รอดที่ 5 ปีมากถึง 98%

มะเร็งเต้านม ในระยะเริ่มต้นมักไม่มีอาการ ไม่เจ็บ ไม่รู้สึกผิดปกติแต่อาจสามารถคลำพบก้อนได้ ปัจจุบันสามารถพบได้ในวัย 40 ปีขึ้นไปโดยส่วนใหญ่มาจากกรรมพันธุ์จะมีความเสี่ยงสูง ญาติใกล้ชิดมากกว่า 2 คน เช่น แม่ พี่สาว น้องสาว ดังนั้นควรตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ

ปัจจัยเสี่ยง มะเร็งเต้านม

  • เริ่มมีประจำเดือนเร็วก่อนอายุ 12 ปี
  • มีบุตรคนแรกช้าหลังอายุ 30 ปีหรือไม่มีบุตร
  • หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
  • ทานยาคุมกำเนิดหรือยาฮอร์โมนทดแทนนานเกิน 10 ปี
  • หมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่
  • เคยได้รับการฉายแสงบริเวณทรวงอกเมื่ออายุน้อย
  • พฤติกรรมเสี่ยง เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่
  • พันธุกรรม เช่น การกลายพันธุ์ ของ ยีน BRCA-1 หรือ BRCA-2

การรักษาหลักของมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก

  1.  การผ่าตัด โดยการผ่าตัดแบบสงวนเต้านมคือผ่าตัดเฉพาะส่วนที่เป็นมะเร็งออก หรือผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นกับระยะและขนาดของก้อนมะเร็ง รวมถึงการเลาะต่อมน้ำเหลืองออก ทั้งนี้ขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์
  2.  รังสีรักษา ในการผ่าตัดแบบสงวนเต้านม ต้องทำควบคู่กับการฉายรังสีรักษาเสมอ การฉายรังสีจะลดอัตราการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมได้ถึง 80%
  3.  เคมีบำบัด เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่รวมถึงอาจให้เพื่อลดขนาดของก้อนมะเร็งก่อนการผ่าตัดแบบสงวนเต้านม การให้เคมีบำบัดในบางรายสามารถให้พร้อมกับการฉายรังสี ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ ทั้งนี้ยาเคมีบำบัดสำหรับมะเร็งเต้านมมีหลายกลุ่ม การเลือกใช้ยาสูตรใด ลำดับการให้ยาเป็นอย่างไร ระยะเวลาในการให้ยายาวนานเท่าใด ขึ้นกับระยะของมะเร็งและสภาวะของคนไข้
  4. การให้ยามุ่งเป้า
  5. การให้ยาต้านฮอร์โมน

เบื้องต้นคุณผู้หญิงสามารถตรวจคัดกรองเต้านมด้วยตัวเองเบื้องต้นด้วยวิธีดังนี้
คลิก : https://youtu.be/WMi18l-ToVM?si=cIql-ODdqSMW9TmB


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร 02-109-8111

ติดตามช่องทางออนไลน์อื่นๆของโรงพยาบาลบางปะกอก 8
Facebook : https://www.facebook.com/Bangpakok8
Tiktok : https://www.tiktok.com/@bangpakok8hospital
Instagram : https://www.instagram.com/bangpakok8hospital
LineOA : https://lin.ee/cbtHx5L

Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.